วิธีการเล่นกีตาร์
การเล่นกีตาร์ สำหรับผู้ที่ไม่เคยเล่นมาก่อนเลย จะต้องทำใจอย่างนึงครับ คือ ระหว่างที่ฝึกใหม่ ๆ ปลายนิ้วมือเราจะเจ็บมาก ถึงขั้นหนังลอกออกเห็นเนื้อแดง ๆ เลยล่ะครับ ผมก็มีวิธีที่ลดความเจ็บปวดให้น้อยลงคือ พอนิ้วเริ่มเจ็บจนจะทนไม่ได้แล้ว ก็หยุดเล่นหยุดฝึกไปก่อน จนกว่านิ้วจะหาย ถ้าขืนยังฝืนเล่นต่อไป มีหวังหนังปลายนิ้วลอกออก จนเห็นเนื้อแดง ๆ เนี่ย จะไม่ได้เล่นอีกหลายวันเลยนะครับ
อีกอย่างที่สำคัญก็คือ การวางกีตาร์ การวางนิ้ว ข้อมือ ข้อศอก ตรงนี้ก็สำคัญครับ จับกีตาร์ใหม่ ๆ เอ๊ะ ทำไมเสียงมันบอด นั่นก็เพราะว่า เรายังไม่คุ้นเคย กับกีตาร์ ยังไม่คุ้นเคยกับการวางนิ้ว กางข้อศอก บิดข้อมือ นั่นเองครับ วิธีง่าย ๆ ก็คือ ขยับทั้ง 3 จุดนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าเราจะเจอจุดที่เราถนัด ซึ่งทุก ๆ คน จะมีจุดที่ถนัดแตกต่างกันไปครับ หากเราทำสำเร็จ ผลที่ตามมาก็คือ เสียงคอร์ดกีตาร์ที่เราดีดนั้น จะไม่บอดครับ แต่แรก ๆ อาจจะยังบอดอยู่บ้างบางเสียง ก็ไม่เป็นไร ฝึกจนกว่าจะไม่บอดเลย จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ผมพบว่า ทุก ๆ จุดของการฝึกดนตรี มีปัญหาทั้งนั้น ถ้าเสียงไม่บอด ก็เมื่อยมือ ถ้าไม่เมื่อยมือ ก็เจ็บนิ้ว เป็นต้น ผมจึงอยากจะบอกเพื่อน ๆ ว่า อดทนนะครับ แรก ๆ มันโคตรอึดอัด อยากจะเลิกฝึกเลยล่ะครับ แต่ถ้าเราอดทนผ่านช่วงวิกฤติ ช่วงนี้ไปได้ (หมายถึงช่วงเจ็บนิ้ว ช่วงเสียงบอด) เราจะสนุกกับมันจนไม่อยากวางเลยล่ะครับ...
สิ่งที่เราต้องรู้อีกสิ่งหนึ่งก็คือ ต้องรู้จักกับสายกีตาร์ก่อนว่า มีกี่สาย ตั้งเสียงอย่างไรให้เป็นมาตรฐาน ไม่งั้น ก็จะเล่นไม่ได้อ่ะครับ วิธีจำง่าย ๆ ก็คือ ให้เอากีตาร์มาวางบนตัก เหมือนกับเรากำลังจะเล่นกีตาร์ แล้วมองไปที่ สายกีตาร์ จะเห็นว่ามี 6 สาย มีทั้ง สายเล็ก ๆ และสายใหญ่ ๆ ส่วนมากเขาจะเรียงสายดังนี้ครับ สายเล็ก ๆ ที่อยู่ด้านล่างสุด เสียงแหลม ๆ เขาจะเรียกเป็นสาย 1 ส่วนสายบนสุด ใหญ่ ๆ หนา ๆ เสียงทุ้ม ๆ เขาจะเรียกเป็นสาย 6 ครับ ซึ่งแต่ละสาย จะต้องมีเสียงประจำตัวของมันนะครับ
เพื่อน ๆ เคยได้ยินคำว่า โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด มาแล้ว ในการฝึกเครื่องดนตรี เรามักนิยมฝึกตามตัวอักษรภาษาอังกฤษครับ ซึ่งโน๊ตตัวโด ก็จะแทนด้วยอักษร C ครับ ผมจะไล่ตัวอักษรดังนี้ครับ C D E F G A B C
C = โด D = เร E = มี F = ฟา G = ซอล A = ลา B = ที C = โด
จะเห็นว่า มี C ถึง 2 ตัวเลย จริง ๆ แล้ว มันมีหลายตัวเลยล่ะครับ ลองนึกถึงลิ่มเปียโน ตรงที่เวลาเขาเล่น เขาต้องกด ๆ มันเพื่อให้มีเสียงออกมาครับ ลิ่มเปียโนเหล่านี้ มีมากมายเหลือเกิน ใหม่ ๆ เราจะไม่รู้เลยว่า ตัวไหน โน๊ตอะไรกันแน่ ให้เพื่อน ๆ ลองไปสังเกตดูนะครับ มันจะมีลิ่มสีดำ อยู่ด้านบน ลิ่มสีขาว อยู่ด้านล่าง ลิ่มสีดำ จะมีที่ติดกัน 2 ลิ่ม กับ 3 ลิ่ม การดูว่า ลิ่มไหนโน๊ตตัว C ให้ดู ลิ่มดำที่ติดกัน 2 ลิ่มครับ ลิ่มขาว ๆ ก่อนลิ่มดำ 2 ลิ่ม นั่นคือ โน๊ตตัว C นั่นเอง ครับ แล้วมันก็จะมีลิ่ม แบบนี้ หลายจุดเลยทีเดียว ก็เท่ากับว่า มีโน๊ตตัว C หลายตัว ถ้าเพื่อน ๆ ลองกดฟังเสียงดู ก็จะพบว่า มีทั้ง เสียงต่ำ ๆ ทุ้ม ๆ ไปจนถึง เสียงแหลม ๆ เล็ก ๆ ภาษาชาวบ้านเขาเรียกว่า C ต่ำ C สูง ครับ ในหลักการของดนตรี จำเป็นต้องมีทั้งเสียงต่ำ และเสียงสูง เพราะว่า มันจะทำให้เกิดมิติ ของเสียงนั่นเองครับ (เริ่มงง) เอาเป็นว่า กลับมาที่กีตาร์กันต่อดีกว่า เรื่องของสายกีตาร์ยังไม่หมดเท่านี้ ยังมีต่ออีกนิดหน่อยครับ นั่นคือ เราจะตั้งสาย ยังไงอ่ะ ให้ตั้งตามโน๊ต ดังนี้ครับ
สาย 1 = E สาย 2 = B สาย 3 = G สาย 4 = D สาย 5 = A สาย 6 = E
เพื่อน ๆ อาจมีคำถามว่า แล้วจะตั้งสายกับอะไรล่ะ คำตอบก็คือ ตั้งกับลิ่มเปียโนครับ หรือตั้งกับเครื่องตั้งสาย หรือตั้งกับโปรแกรมตั้งสายใน คอมพิวเตอร์ แต่ถ้าเราไม่มี 3 อย่างนี้เลยล่ะ ก็ตั้งไม่ได้เหรอ คำตอบคือ ตั้งได้ครับ แต่จะไม่ตรงกับระดับเสียงของโน๊ตที่แท้จริง (เมื่อก่อน ผมก็ตั้งสายเอง โดยไม่ได้อาศัยเครื่องมืออะไรเลย แต่ถ้าจะต้องเล่นดนตรีเป็นวงแล้วล่ะก้อ ต้องตั้งเสียงให้ตรงกันทั้งวงครับ ไม่อย่างนั้น ไม่เป็นเพลงครับ) การตั้งสายเองโดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือใด ๆ มีวิธีดังนี้ครับ (วิธี ที่ผมใช้ประจำ)
1. ตั้งสาย 1 ก่อน ให้พอตึง ๆ อย่าตึงมากนะครับ เดี๋ยวสายขาด2. เอานิ้ว กดไปที่ช่องที่ 5 ของสาย 2 แล้วดีด ฟังเสียงเทียบกับสาย 1 ครับ ให้เราหมุนสาย 2 จนกว่า เสียงที่เรากดในช่องที่ 5 จะเท่ากับสาย 1
3. เอานิ้ว กดไปที่ช่องที่ 4 สาย 3 เน้นนะครับ ช่องที่ 4 สาย 3 แล้วดีด ฟังเสียงเทียบกับสาย 2 แล้วก็หมุนสาย 3 จนกว่าเสียงจะเท่ากับสาย 2
4. เอานิ้ว กดไปที่ช่องที่ 5 สาย 4 ดีด ฟังเสียงเทียบกับสาย 3 แล้วตั้งสายเหมือน ข้อ 2. และ 3.
5. สาย 5 และ สาย 6 ทำวิธีเดียวกันกับ ข้อ 4 ครับสรุปก็คือ มีเฉพาะสาย 3 เท่านั้น ที่ต้องกด ที่ช่อง 4 เพื่อเทียบเสียง นอกนั้น กด ช่อง 5 หมดเลยครับ
แต่ถ้าเพื่อน ๆ อยากจะตั้งให้ตรงกับเสียงมาตรฐานล่ะก้อ ต้องซื้อเครื่องตั้งสายครับ ตัวนึงก็หลักพัน หรือเสาะหาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับการตั้งสายมาใช้ก็ได้ครับ (พวก cakewalk ก็มีครับ ในส่วนของ tuner ครับ ซึ่งผมจะอธิบายเรื่องนี้อีกทีในเรื่องการใช้โปรแกรมทำงานดนตรีครับ (เพราะฉะนั้น ถ้าเล่นคนเดียว ไม่ได้ไปเล่นกับใครที่ไหน ก็สามารถตั้งสาย ตามที่ผมแนะนำก่อนก็ได้ครับ แต่ถ้าเกิดจะเล่นกับเพื่อน ก็เอาเครื่องดนตรีของเรา ตั้งเสียงให้ตรงกับของเพื่อน ครับ)
การจับคอร์ดกีต้าร์
การจับคอร์ดถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการเล่นกีต้าร์เลยก็ว่าได้ ในโลกนี้มีคอร์ดอยู่มากมายมหาสาร
มีผู้รู้ท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่าคอร์ดนั้นมีอยู่เป็นร้อยเป็นพันธ์เลยทีเดียว (โห้... ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ) ใครคิดวิธีจับแบบใหนได้ก็อาจจะเรียกเป็นคอร์ดใหม่เลยก็ได้ แต่อย่าพึ่งตกใจไปน่ะครับ คอร์ดหลักๆ นั้นมีอยู่แค่ 7 คอร์ดเท่านั้นเอง คือ A B C D E F และ G ส่วนที่เหลือนั้นก็จะเป็นพวกน้ำจิ๋มน้ำปลาทั้งนั้น
ในที่นี้ผมจะสอนวิธีการจับคอร์ดง่ายๆ และวิธีการดูคอร์ดจากรูปภาพ ซึ่งถ้าคุณรู้วิธีหล่าวนี้แล้ว คุณก็จะสามารถนำไปประยุคในการจับคอร์ดอื่นๆ ได้ เอาหละ เรามาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ
จากรูป เป็นคอกีต้าร์ในลักษณะหันหน้าเข้าหาตัว เส้นในแนวตั้งก็คือสายกีต้านั้นเอง โดยเลข 1 ที่กำกับอยู่ข้างบนก็คือสายที่ 1 หรือสายที่เล็กที่สุด ส่วนเลขหกก็คือสายที่ใหญ่ที่สุด
เส้นในแนวนอนก็คือเส้นขั้นระหว่างเฟร็ต โดยเฟร็ตบนสุดก็คือเฟร็ตที่ 1 และถัดลงมาก็คือเฟร็ตที่ 2, 3, 4 .... ไปเรื่อยๆ
ส่วนรูปด้านขวานี้ เป็นตัวอย่างของการจับคอร์ด C ซึ่งตัวเลขในลูกกลมๆ สีแดงก็คือนิ้วมือซ้ายนั้นเอง โดยรายละเอียดมีดังนี้
1 = นิ้วชี้ 2 = นิ้วกลาง 3 = นิ้วนาง 4 = นิ้วก้อย
ตัวเลขต่างๆ หล่าวนี้ที่จริงแล้วในตารางคอร์ดทั่วๆ ไปจะไม่มีกำกับไว้ ถ้าไม่มีแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าจับคอร์ดได้ถูกต้องหรือผิด? คำตอบก็คือไม่มีใครถูกใครผิดหรอกครับ เพราะการจับนั้นไม่ตายตัว ใครถนัดแบบใหนก็จับแบบนั้น แต่บางทีการจับให้ถูกต้องนั้นก็สำคัญเหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่นการจับคอร์ด G จากรูปจะเห็นว่าเราไม่จำเป็นที่จะต้องใช้นิ้วก้อย (เลข 4) ในการจับเลย เพราะนิ้วชิ้วเรายังว่างอยู่นิ หลายคนโดยเฉพาะมือใหม่ๆ ก็เลยใช้นิ้วชี้กดแทนนิ้วกลาง ส่วนนิ้วกลางก็เอาไปกดที่นิ้วนาง และนิ้วนางที่นิ้วก้อย ทำให้เราไม่ต้องใช้นิ้วก้อยเลย (ผมก็เคยจับแบบนี้มาตั้งนาน) ซึ่งดูเหมือนจะง่ายกว่าแบบแรกเยอะ เพราะมือใหม่ส่วนใหญ่จะไม่สันทัดกับการใช้นิ้วก้อยซักเท่าไหร
แต่ถ้าคุณเริ่มที่จะเล่นกีต้าร์เป็นแล้ว และคุณลองเล่นเพลงจากหนังสือเพลง คุณก็จะเจอกับคอร์ด Gsus4 ซึ่งจะต้องเปลี่ยนจากคอร์ด G ไปจับ Gsus4 (มันมักจะมาด้วยกัน) ซึ่งคุณจำเป็นมากที่จะต้องใช้นิ้วชี้ แต่นิ้วชี้คุณกลับใช้ไปแล้วซะนี่...
สรุปเลยละกันน่ะครับว่า การจับคอร์ดนั้นไม่ตายตัวเสมอไป แต่การจับให้ถูกหรือเหมาะสมก็เป็นสิ่งที่ควรทำครับ
นี้คือภาพคอร์ดที่ใช้เล่นกีต้่าร์นะครับ เพื่อนๆอย่าลืมไปฝึกจับคอร์ดกันนะครับ
ภาพคอร์ดกีต้าร์
ที่มา : - http://www.baanmaha.com/community/thread22006.html
- http://student.nkw.ac.th/student/04095/index_2.html
- http://guitar.kaidown.com/Guitar-Article/Guitar-Tutorial-1/Read-Tab.aspx - http://www.oknation.net/blog/print.php?id=74662
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น