วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วีธการเล่นกีต้าร์ การตั้งสายเบื้องต้น



การเล่นกีตาร์ สำหรับผู้ที่ไม่เคยเล่นมาก่อนเลย จะต้องทำใจอย่างนึงครับ คือ ระหว่างที่ฝึกใหม่ ๆ ปลายนิ้วมือเราจะเจ็บมาก ถึงขั้นหนังลอกออกเห็นเนื้อแดง ๆ เลยล่ะครับ ผมก็มีวิธีที่ลดความเจ็บปวดให้น้อยลงคือ พอนิ้วเริ่มเจ็บจนจะทนไม่ได้แล้ว ก็หยุดเล่นหยุดฝึกไปก่อน จนกว่านิ้วจะหาย ถ้าขืนยังฝืนเล่นต่อไป มีหวังหนังปลายนิ้วลอกออก จนเห็นเนื้อแดง ๆ เนี่ย จะไม่ได้เล่นอีกหลายวันเลยนะครับ

อีกอย่างที่สำคัญก็คือ การวางกีตาร์ การวางนิ้ว ข้อมือ ข้อศอก ตรงนี้ก็สำคัญครับ จับกีตาร์ใหม่ ๆ เอ๊ะ ทำไมเสียงมันบอด นั่นก็เพราะว่า เรายังไม่คุ้นเคย กับกีตาร์ ยังไม่คุ้นเคยกับการวางนิ้ว กางข้อศอก บิดข้อมือ นั่นเองครับ  วิธีง่าย ๆ ก็คือ ขยับทั้ง จุดนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าเราจะเจอจุดที่เราถนัด ซึ่งทุก ๆ คน จะมีจุดที่ถนัดแตกต่างกันไปครับ  หากเราทำสำเร็จ ผลที่ตามมาก็คือ เสียงคอร์ดกีตาร์ที่เราดีดนั้น จะไม่บอดครับ แต่แรก ๆ อาจจะยังบอดอยู่บ้างบางเสียง ก็ไม่เป็นไร ฝึกจนกว่าจะไม่บอดเลย จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ผมพบว่า ทุก ๆ จุดของการฝึกดนตรี มีปัญหาทั้งนั้น ถ้าเสียงไม่บอด ก็เมื่อยมือ ถ้าไม่เมื่อยมือ ก็เจ็บนิ้ว เป็นต้น  ผมจึงอยากจะบอกเพื่อน ๆ ว่า อดทนนะครับ แรก ๆ มันโคตรอึดอัด อยากจะเลิกฝึกเลยล่ะครับ แต่ถ้าเราอดทนผ่านช่วงวิกฤติ ช่วงนี้ไปได้ (หมายถึงช่วงเจ็บนิ้ว ช่วงเสียงบอด) เราจะสนุกกับมันจนไม่อยากวางเลยล่ะครับ...

สิ่งที่เราต้องรู้อีกสิ่งหนึ่งก็คือ ต้องรู้จักกับสายกีตาร์ก่อนว่า มีกี่สาย ตั้งเสียงอย่างไรให้เป็นมาตรฐาน ไม่งั้น ก็จะเล่นไม่ได้อ่ะครับ วิธีจำง่าย ๆ ก็คือ ให้เอากีตาร์มาวางบนตัก เหมือนกับเรากำลังจะเล่นกีตาร์ แล้วมองไปที่ สายกีตาร์ จะเห็นว่ามี สาย มีทั้ง สายเล็ก ๆ และสายใหญ่ ๆ ส่วนมากเขาจะเรียงสายดังนี้ครับ สายเล็ก ๆ ที่อยู่ด้านล่างสุด เสียงแหลม ๆ เขาจะเรียกเป็นสาย 1  ส่วนสายบนสุด ใหญ่ ๆ หนา ๆ เสียงทุ้ม ๆ เขาจะเรียกเป็นสาย ครับ ซึ่งแต่ละสาย จะต้องมีเสียงประจำตัวของมันนะครับ

เพื่อน ๆ เคยได้ยินคำว่า โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด มาแล้ว  ในการฝึกเครื่องดนตรี เรามักนิยมฝึกตามตัวอักษรภาษาอังกฤษครับ ซึ่งโน๊ตตัวโด ก็จะแทนด้วยอักษร ครับ ผมจะไล่ตัวอักษรดังนี้ครับ  C D E F G A B C 

C = โด                D = เร                E = มี                F = ฟา                G = ซอล             A = ลา                   B = ที                C = โด

จะเห็นว่า มี ถึง ตัวเลย จริง ๆ แล้ว มันมีหลายตัวเลยล่ะครับ ลองนึกถึงลิ่มเปียโน ตรงที่เวลาเขาเล่น เขาต้องกด ๆ มันเพื่อให้มีเสียงออกมาครับ  ลิ่มเปียโนเหล่านี้ มีมากมายเหลือเกิน ใหม่ ๆ เราจะไม่รู้เลยว่า ตัวไหน โน๊ตอะไรกันแน่  ให้เพื่อน ๆ ลองไปสังเกตดูนะครับ มันจะมีลิ่มสีดำ อยู่ด้านบน ลิ่มสีขาว อยู่ด้านล่าง ลิ่มสีดำ จะมีที่ติดกัน ลิ่ม กับ ลิ่ม  การดูว่า ลิ่มไหนโน๊ตตัว ให้ดู ลิ่มดำที่ติดกัน ลิ่มครับ ลิ่มขาว ๆ ก่อนลิ่มดำ ลิ่ม นั่นคือ โน๊ตตัว นั่นเอง ครับ  แล้วมันก็จะมีลิ่ม แบบนี้ หลายจุดเลยทีเดียว ก็เท่ากับว่า มีโน๊ตตัว หลายตัว  ถ้าเพื่อน ๆ ลองกดฟังเสียงดู ก็จะพบว่า มีทั้ง เสียงต่ำ ๆ ทุ้ม ๆ ไปจนถึง เสียงแหลม ๆ เล็ก ๆ ภาษาชาวบ้านเขาเรียกว่า ต่ำ  C สูง ครับ  ในหลักการของดนตรี จำเป็นต้องมีทั้งเสียงต่ำ และเสียงสูง เพราะว่า มันจะทำให้เกิดมิติ ของเสียงนั่นเองครับ (เริ่มงง) เอาเป็นว่า กลับมาที่กีตาร์กันต่อดีกว่า  เรื่องของสายกีตาร์ยังไม่หมดเท่านี้  ยังมีต่ออีกนิดหน่อยครับ นั่นคือ เราจะตั้งสาย ยังไงอ่ะ  ให้ตั้งตามโน๊ต ดังนี้ครับ

สาย 1 = E                สาย 2 = B                สาย 3 = G                สาย 4 = D                สาย 5 = A                สาย 6 = E

เพื่อน ๆ อาจมีคำถามว่า แล้วจะตั้งสายกับอะไรล่ะ คำตอบก็คือ ตั้งกับลิ่มเปียโนครับ หรือตั้งกับเครื่องตั้งสาย หรือตั้งกับโปรแกรมตั้งสายใน คอมพิวเตอร์  แต่ถ้าเราไม่มี อย่างนี้เลยล่ะ ก็ตั้งไม่ได้เหรอ  คำตอบคือ ตั้งได้ครับ แต่จะไม่ตรงกับระดับเสียงของโน๊ตที่แท้จริง (เมื่อก่อน ผมก็ตั้งสายเอง โดยไม่ได้อาศัยเครื่องมืออะไรเลย แต่ถ้าจะต้องเล่นดนตรีเป็นวงแล้วล่ะก้อ ต้องตั้งเสียงให้ตรงกันทั้งวงครับ ไม่อย่างนั้น ไม่เป็นเพลงครับ)   การตั้งสายเองโดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือใด ๆ มีวิธีดังนี้ครับ (วิธี ที่ผมใช้ประจำ)

1.  ตั้งสาย ก่อน ให้พอตึง ๆ อย่าตึงมากนะครับ เดี๋ยวสายขาด
2.  เอานิ้ว กดไปที่ช่องที่ ของสาย แล้วดีด ฟังเสียงเทียบกับสาย ครับ ให้เราหมุนสาย จนกว่า เสียงที่เรากดในช่องที่ 5 จะเท่ากับสาย 1
3.  เอานิ้ว กดไปที่ช่องที่ 4  สาย เน้นนะครับ ช่องที่ 4  สาย แล้วดีด ฟังเสียงเทียบกับสาย แล้วก็หมุนสาย จนกว่าเสียงจะเท่ากับสาย 2
4.  เอานิ้ว กดไปที่ช่องที่ สาย 4  ดีด ฟังเสียงเทียบกับสาย แล้วตั้งสายเหมือน ข้อ 2. และ 3.
5.  สาย และ สาย ทำวิธีเดียวกันกับ ข้อ ครับ
สรุปก็คือ มีเฉพาะสาย เท่านั้น ที่ต้องกด ที่ช่อง เพื่อเทียบเสียง นอกนั้น กด ช่อง หมดเลยครับ

แต่ถ้าเพื่อน ๆ อยากจะตั้งให้ตรงกับเสียงมาตรฐานล่ะก้อ ต้องซื้อเครื่องตั้งสายครับ ตัวนึงก็หลักพัน หรือเสาะหาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับการตั้งสายมาใช้ก็ได้ครับ (พวก cakewalk ก็มีครับ ในส่วนของ tuner ครับ ซึ่งผมจะอธิบายเรื่องนี้อีกทีในเรื่องการใช้โปรแกรมทำงานดนตรีครับ (เพราะฉะนั้น ถ้าเล่นคนเีดียว ไม่ได้ไปเล่นกับใครที่ไหน ก็สามารถตั้งสาย ตามที่ผมแนะนำก่อนก็ได้ครับ แต่ถ้าเกิดจะเล่นกับเพื่อน ก็เอาเครื่องดนตรีของเรา ตั้งเสียงให้ตรงกับของเพื่อน ครับ)
ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=74662

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาของกีต้าร์



     เครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกีตาร์เป็นที่นิยมมามากกว่า 5,000 ปี แล้วนะค่ะโดยเริ่มเป็นที่นิยมในแถบเอเชียกลาง เรียกว่า ซิตาร่า (Sitara) เป็นเครื่องดนตรีที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกับกีตาร์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบมีอายุ 3,300 ปี เป็นหินสลักของกวีอาณาจักรโบราณฮิตไตต์ ค่ะ
     คำว่า กีตาร์ มีที่มาจากภาษาสเปน    คำว่า guitarra ซึ่งมีที่มาจากภาษากรีก อีกทีคือคำว่า Kithara kithara จากหลายแหล่งที่มาทำให้คำว่ากีตาร์น่าจะมีรากศัพท์มาจากภาษาตระกูลอินโดยูโรเปียน guit- คล้ายกับภาษาสันสกฤต ที่แปลว่า ดนตรี และ -tar หมายถึง คอร์ด หรือ สาย
คำว่า qitara เป็นภาษาอาราบิก ใช้เรียก Lute lute ส่วนคำว่า guitarra เกิดขึ้นเมื่อเครื่องดนตรี
ชนิดนี้ถูกนำมาที่ Iberia (หรือ Iberian Peninsular เป็นคาบสมุทรทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในทวีปยุโรป) โดย Moors
       กีตาร์ในยุคปัจจุบันมีที่มาจากเครื่องดนตรีที่เรียกว่า cithara ของชาวโรมัน ซึ่งมีการนำเข้าไปแพร่หลายในอาณาจักรฮิสปาเนีย หรือสเปนโบราณ เมื่อประมาณ ค.ศ. 40 จากนั้นเปลี่ยนแปลงรูปแบบจนกลายมาเป็นเครื่องดนตรีที่มี 4 สาย เรียกว่า อู๊ด (oud) นำเข้ามาโดยชาวมัวร์ในยุคที่เข้ามาครอบครองคาบสมุทรไอบีเรียน ในช่วงศตวรรษที่ 8 ส่วนในยุโรปมีเครื่องดนตรีที่เรียกว่า ลุต (lute) ของชาวสแกนดิเนเวียมี 6 สาย ในสมัย ค.ศ. 800 เป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมในกลุ่มชาวไวกิ้ง
        ค.ศ. 1200 กีตาร์ 4 สาย จะมี 2 ประเภท คือ กีตาร่า มอ ริสกา หรือกีตาร์ของชาวมัวร์ มีลักษณะกลม ตัวคอกว้าง มีหลายรู กับ กีตาร่า ลาติน่า ซึ่งรูปร่างคล้ายกับกีตาร์ในปัจจุบัน คือ
มีรูเดียวและคอแคบ ในศตวรรษที่ 16 เครื่องดนตรีคล้ายกับกีตาร์ของชาวสเปน ที่เรียกว่า วิฮูเอล่า เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกีตาร์ในปัจจุบัน ที่มีความผสมผสานระหว่างเครื่องดนตรีอู๊ดของชาวอาหรับและลูตของยุโรป แต่ได้รับความนิยมในช่วงสั้น ๆ จะพบเห็นจนถึงปี ค.ศ. 1576
          เครื่องดนตรีชิ้นแรกที่มีรูปลักษณ์เหมือนกับกีตาร์ในปัจจุบัน เกิดขิ้นในช่วงยุคปลายของสมัยกลางหรือยุคต้นสมัยเรอเนสซอง (500 กว่าปีที่แล้ว) เป็นช่วงที่มีการใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายกันทั่วโลก ในยุคนั้นกีตาร์มีทั้งแบบ 4 และ 5 สาย สำหรับกีตาร์ที่มี 6 สาย ระบุว่ามีขึ้นในปี ค.ศ. 1779 เป็นผลงานของนายแกตาโน วินาซเซีย (Gaetano Vinaccia) ในเมืองเนเปิล อิตาลี แต่ก็ถกเถียงกันว่าอาจเป็นของปลอมสำหรับตระกูลวินาซเซียมีชื่อเสียงในการผลิตแมนโดลินมาก่อน
          กีตาร์ไฟฟ้าตัวแรกเริ่มผลิตขึ้นในศตวรรษที่ 20 โดยจอร์จ โบแชมป์ (George Beauchamp) ได้รับสิทธิบัตรในปี 1936 และร่วมกับ ริกเค่นแบ็กเกอร์ (Rickenbacker) ตั้งบริษัท Electro String Instrument ผลิตกีตาร์ไฟฟ้าในช่วงปลายปีทศวรรษที่ 1930 ต่อมาในช่วงทศวรรษที่ 1960 จอห์น เลนนอน สมาชิกวงเดอะบีทเทิลส์ใช้กีตาร์ยี่ห้อนี้ ส่งผลให้เครื่องดนตรียี่ห้อนี้มีชื่อเสียงในกลุ่มนักดนตรีในยุคนั้น และในปัจจุบันบริษัทริกเค่นแบ็กเกอร์ เป็นบริษัทผลิตกีตาร์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C

รูปกีตาร์




เทคนิควิธีการเล่นกีต้าร์เบื้องต้น

การเล่นกีต้าร์โดยทั่วไปนั้นมีอยู่ แบบ คือ
           1. เล่นแบบดีดทีละสาย ผู่เล่นจะต้องจำจุดต่างๆ ให้ได้ว่าเป็นเสียงอะไร ในการกดลงไปตามจุดต่างๆ ของคอร์ดกีต้าร์ต้องกดให้แน่นๆนะครับ ถ้ากดไม่แน่นเสียงจะบอด (เสียงไม่กังวาล) การฝึกหัดควรฝึกหัดตามโน็ต ตาไม่ต้องดูนิ้ว ในระยะแรกอาจจะดูบ้างไม่เป็นไรครับ
          การดีดทีละสายนี้สามารถทำให้เสียงที่ดีดออกมาแปลกไปจากเดิมได้ เมื่อเวลาที่จะเปลี่ยนไปติดตามโน็ตอีกตัวนึง คือ "การเล่นแบบรูดนิ้ว" การเล่นแบบรูดนิ้วนั้น ผู้เล่นจะต้องกดจุดแรกให้แน่นก่อนแล้วรูดนิ้วจากจุดแรกที่กดอยู่ไปยังจุดที่เกิดเป็นเสียงตามต้องการ (รูดสายเดิม) เช่น จาก โดในสายที่ รูดนิ้วไปยังฟาในสายเดียวกัน การเล่นแบบนี้ผู่เล่นจะต้องจำให้ได้ว่าสายนั้นตามช่องต่างๆ มีเสียงอะไรบ้าง การเล่นแบบรูดนิ้วทำให้เกิดความไพเราะขึ้นกว่าการเปลี่ยนจุดตามธรรมดา ถ้าต้องการให้เสียงสั่นพริ้ว เมื่อดีดแล้วต้องเขย่าตัวกีต้าร์
        2. เล่นแบบดีดหลายสายพร้อมกัน วิธีนี้ คือ การดีดเป็นคอร์ดนั่นเอง การฝึกหัดดีดเป็นคอร์ดครั้งแรกควรจะดีดช้าๆ ก่อน เมื่อกดจุดต่างๆ ที่จะทำให้เกิดกลุ่มเสียงแล้วดีดไล่ลงไปทีละเส้น วิธีนี้เรียกว่า Broken Chord การเล่นแบบนี้จะทำให้ผู้เล่นรู้ว่าเสียงใดบอดบ้าง        ในการเปลี่ยนคอร์ดหนึ่งไปยังอีกคอร์ดหนึ่ง นิยมเปลี่ยนโดยการเลื่อนนิ้วเพราะจะทำให้เสียงไม่ขาดหายไป แต่มีการเปลี่ยนคอร์ดบางคอร์ดต้องยกนิ้วออกจากจุดเดิมทั้งหมด เพราะคอร์ดที่ต้องการอยู่ไกลจากตำแหน่งของคอร์ดเดิมมาก

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โครงการ IS

ใบงานที่  ……..
เรื่อง  “โครงการการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง”
Independent Study



ชื่อกลุ่ม    Striking           
                                           ชั้น  ม.4/10



สมาชิก - นาย ชยพล  มั่งกิ่ง  ชั้น ม.4/10   เลขที่1   
        - นาย ณัฐพนธ์  ปานอุดมลักษณ์  ชั้น ม.4/10   เลขที่5
        - นางสาว ชนนิกานต์   เกียรติชูศักดิ์   ชั้น ม.4/10   เลขที่ 24.


1..ขั้นวางแผนการจัดทำโครงการเรื่อง     วิธีการเล่นกีตาร์อย่างเทพ
ผู้ร่วมโครงการ  (บุคคลอื่นๆที่ไม่ใช่สมาชิกกลุ่ม)
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….…….................................................                                           
ที่ปรึกษาโครงการ ……ครูอัจฉรา  สุขขีมนต์      
หลักการและเหตุผล     (ทำไมจึงสนใจทำเรื่องนี้)          ……กีตาร์เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ทั่วโลก กีตาร์มีวิธีการเล่นและสไตล์การเล่นมากมายหลากหลายไม่รู้จบ ทางคณะผู้จัดทำจึงเห็นว่ากีตาร์เป็นเรื่องที่น่าสนใจในการนำมาศึกษาวิธีและเทคนิคการเล่น.                             
วัตถุประสงค์โครงการ (ทำเพื่ออะไร)
……– เพื่อศึกษาวิธีการเล่นของกีตาร์ที่แปลกใหม่
     เพื่อรู้จักวิธีการเล่นที่หลากหลายและแปลกใหม่
    – ศึกษาเทคนิคการเล่นที่แปลกใหม่

ประเด็นปัญหา (คำถามที่ต้องการรู้)  ……
    – วิธีการเล่นกีตาร์
     กีตาร์เล่นอย่างไร
    - วิธีเล่นกีตาร์มีอะไรบ้าง


เป้าหมาย /  สถานที่ดำเนินโครงการ (ทำที่ไหน)  
โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์

ระยะเวลา 1 เดือน
ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน เริ่ม 4 กรกฎาคม 2555 ถึง 4 สิงหาคม 2555


 งบประมาณ………………………………….....

ผลที่คาดว่าจะได้รับ (นำไปใช้ประโยชน์อย่างไร)

 -ได้เรียนรู้วิธีการเล่นกีตาร์   -

- เทคนิคการเล่นกีตาร์   ที่หลากหลายและแปลก

ใหม่


แผนการปฏิบัติงาน/ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ( ทำอย่างไร)

1  ศึกษาว่าีตาร์คืออะไร

2 ศึกษาวิธีการเล่น

3 ฝึกจับโน้ตและคอร์ด

4 นำมาประยุกต์ศึกษาวิธการเล่นใหม่ๆ

การประเมินผล 
.............................................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................
2.ขั้นลงมือปฏิบัติ


บันทึกผลการปฏิบัติ (สิ่งที่ได้ค้นพบ)

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….................................. 

   
เอกสารอ้างอิง -
          - http://www.baanmaha.com/community/thread22006.html

          - http://student.nkw.ac.th/student/04095/index_2.html
          - http://guitar.kaidown.com/Guitar-Article/Guitar-Tutorial-1/Read-  Tab.aspx